ความเป็นมาอิสลามกับวิทยาศาสตร์

ความเป็นมาอิสลามกับวิทยาศาสตร์ 

>> และแล้วเราก็กลับมา หลังจากที่หายเงียบไปเป็นเดือน  กลับมาคราวนี้ก็เลยมาพร้อมกับบทความชิ้นใหม่  <<
เนื่องจากมีข้อกล่าวหามากมายว่าผู้ที่นับถือพระเจ้า เป็นพวกงมงาย ไม่ยอมรับวิทยาศาสตร์  อันนี้ขอชี้แจงในแง่ของอิสลาม  ศาสนาอิสลามนั้น ถือว่าการแสวงหาความรู้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์  อิสลามนั้นต้องเรียนรู้ตั้งแต่เกิดจนถึงหลุมฝังศพ
           
ท่านศาสดาเคยกล่าวว่า  ผู้มีความรู้หนึ่งคนนั้นเข้มแข็งกว่าผู้ศรัทธาหนึ่งพันคน”  และแท้จริงอัลเลาะห์ได้สอนมนุษย์ในสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้ และพระองค์ใช้ให้มนุษย์ศึกษาค้นคว้า พินิจพิจารณา ตรึกตรอง ใคร่ครวญ โดยพระองค์โต้ตอบกับมนุษย์ไว้ในหลายอายะห์ ว่า : (พวกเขาไม่เห็นหรือ) (พวกเขาไม่พิจารณาหรือ) (มนุษย์ไม่ได้พิจารณาหรือว่าเราได้สร้างเขาขั้นมาจากอสุจิ) (แท้จริงในการดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์แก่พวกที่ตรึกตรอง) (แท้จริงในการดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์แก่พวกที่ใช้สติปัญญา) (แท้จริงในการดังกล่าวเป็นที่ตรึกตรองสำหรับพวกที่มีสติปัญญา ) (จงอ่านเถิด ในนามผู้อภิบาลของเจ้า ซึ่งพระองค์ได้สร้าง) และยังมีอีกมากมายหลายอายะห์ที่มีความหมายทำนองเดียวกันนี้ อิสลามไม่ได้กีดกัน และไม่ได้สร้างเงื่อนไขในเรื่องเสรีภาพของการศึกษา และการค้นคว้าทางวิชาการ เพราะการศึกษาและค้นคว้าจะทำให้การเรียนรู้แนวทางของอัลเลาะห์ เป็นที่ปรากฎแก่ชาวโลก แต่อิสลามก็ไม่ได้เปิดประตูไว้โดยปราศจากหลักเกณฑ์ในการนำเอาผลลัพธ์ทางวิชาการไปปฎิบัติต่อสาธารณชน โดยไม่ผ่านการกลั่นกรองของหลักศาสนา ที่จะปล่อยให้สิ่งที่ศาสนาอนุมัติผ่านไป และกีกกันสิ่งที่ศาสนาห้ามเอาไว้ ดังนั้นจึงไม่ยินยอมให้ดำเนินการในเรื่องใดเพียงเพราะสามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเป็นวิชาการที่เกิดประโยชน์ และนำผล ดีมาสู่มนุษยชาติ และป้องกันผลเสียที่จะเกิดกับมนุษย์ และวิชาการนี้ต้องเป็นวิชาการที่ปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และปกป้องเป้าหมายที่อัลเลาะห์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อเป้าหมายนั้น ดังนั้นจะนำมนุษย์มาเป็นเครื่องทดลองไม่ได้ จะละเมิดความเป็นตัวตนของบุคคล เอกลักษณ์ และคุณสมบัติของมนุษย์ไม่ได้ และวิชากรนั้นจะต้องไม่นำไปสู่ความสั่นคลอนของโครงสร้างทางสังคมที่เป็นปึกแผ่น หรือจะต้องไม่นำไปสู่ความเสื่อมสลายของระบบเครือญาติ วงศ์ตระกูล และสายสัมพันธ์ในการสืบวงศ์ตระกูล ตลอดจนโครงสร้างของครอบครัว ซึ่งถือปฎิบัติกันมาอย่างยาวในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ ภายใต้ร่มเงาของบัญญัติศาสนา และบนพื้นฐานอันมั่นคงจากข้อกำหนดของพระผู้เป็นเจ้า
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ ในช่วงปี ค.ศ. 569 - 1449  ช่วงนี้เป็นสมัยที่มุสลิมครองความเป็นผู้นำ ดังนั้นในวงวิชาการจึงมีนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์มุสลิม เกิดขึ้นมากมาย แม้นักวิทยาศาสตร์ยุโรปปัจจุบันพยายามที่จะปกปิด  แต่ผลงานต่างๆเป็นที่ประจักษ์แก่นักวิทยาศาสตร์ในสมัยปัจจุบัน ในสมัยนี้ยุโรปยังอยู่ในความมืดของทางวิชาการ ชาวยุโรปจึงเรียกช่วงนี้ว่ายุคมืดแห่งวิชาการ ความสว่างทางวิชาการในยุโรปจะไม่วันเกิด หากชาวยุโรปไม่ได้ตักตวงและศึกษาจากผลงานของนักวิทยาศาสตร์มุสลิมในสมัยนั้น

ปี ค.ศ. /      ชื่อนักวิทยาศาสตร์      / สาขาวิชา
569-668    
บรามากุปตา Brahmagupta    คณิตศาสตร์
701
ยาศีด Khalid ibn Yazeed เคมี
740
อัล อัสมัย Al-Asmai สัตววิทยา,พืชศาสตร์
776-768
อัล จาเฮรฺ Al Basri aL-Jahir สัตววิทยา
790-840
อัล คาวาริศมี Al-Kawarizme คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
787
อัล บัลคี Al-Balkhi(Albumasar) ดาราศาสตร์
796
อัล ฟาซาริ Al-Fazari ดาราศาสตร์
800-873
อัล กินดี Al Kidi(Alkindus) คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
803
อิบนู ฮัยยาน Ibn Haiyan(Gebber) บิดาแห่งเคมี
808
อิบนู อิศฮาก Humdan Ibn Is'haq แพทยศาสตร์
825
อัล ดินาวาริ Al-Dinawari คณิตศาสตร์
836-901
อิบนู กูรา Thabit Ibn Qura คณิตศาสตร์
838-870
อัล ตาบาริ Al-Tabari แพทยศาสตร์
852
อัลบาติกนี Abu bdillah(Albategne) คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
857
ยาฮยา Ibn Masawaih You'hya แพทยศาสตร์
858-929
อัล บาตานี Al-Batani(Albatignius) คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
860
อัล ฟัรคานี Al-Farghani(Al-raganus) คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
864-930
อัล ราซี Al-Razi(Rhazes) แพทยศาสตร์
870-950
อัล ฟาราบี Al-Farabi(Al-Pharabius) คณิตศาสตร์
900
อัล อุศตราลาบี Al-Ustralabi ดาราศาสตร์
930-986
อัล ซูฟี Al-Sufi ดาราศาสตร์
912
อัล ตามินิ Al-TAmini(Attamini) เคมี
936-1013
อัล ซาราวี Al-Zahrawi(Albucasis) แพทยศาสตร์
940-997
อัล บุซจานี Al-Buzjani คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
955-1040
อัล ฮัยตัม Al-Haitum(Alhazen) ฟิสิกส์,คณิตศาสตร์
975
มัษอูดี Ali Al-Masu'di ภูมิศาสตร์
973-1048
อัล บีรูนี Al-Biruni ฟิสิกส์,คณิตศาสตร์
980-1037
อิบนู ซินา Ibn Sina(Avicenna) แพทยศาสตร์,คณิตศาสตร์
1028-1087
อัล ซาคาลี Al-Zaqali(Azachel) ดาราศาสตร์
1044-1123
โอมัร คัยยัม Omar Al-Khayyam คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
1068-1128
อัล กาซาลี Al-Ghazali(Algazel) ปรัชญา
1091-1161
อิบนู ซุฮฺ Ibnu Zuhr แพทยศาสตร์
1099-1166
อัล อิดริศศรี Al-Idrisi ภูมิศาสตร์
1128-1198
อิบนู รุซ Ibn Rushd(Averros) แพทยศาสตร์
1188-1214
อัล ไบตานี Al-Baitani(Albategenius) เภสัชวิทยา,พีชศาสตร์
1201-1274
อัล ตูซี Al-Din Al-Tusi คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
1213-1288
อัล นาฟิศ Ibn Al-Nafis แพทยศาสตร์
1364-1436
กาดา ซาดา Al-Rumi Qada Zada คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
1309-1450
อัล คาซิ Al-Din Al-Kashi คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
1393-1449
อูลัก เบค Ulugh Beg คณิตศาสตร์,ดาราศาสตร์
1926-1996
อับดัศ สาลาม Abdas Salam ฟิสิกส์

จะเห็นได้ว่าในบางสาขานั้น อิสลามไม่ได้ทำการศึกษา  หรืออาจมีการศึกษาแต่ไม่ได้จริงจังนัก  ทั้งนี้เพราะบางสาขานั้นขัดต่อหลักการที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ  ต้องเป็นวิชาการที่เกิดประโยชน์ และนำผล ดีมาสู่มนุษยชาติ และป้องกันผลเสียที่จะเกิดกับมนุษย์ และวิชาการนี้ต้องเป็นวิชาการที่ปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และปกป้องเป้าหมายที่อัลเลาะห์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อเป้าหมายนั้น ดังนั้นจะนำมนุษย์มาเป็นเครื่องทดลองไม่ได้ จะละเมิดความเป็นตัวตนของบุคคล เอกลักษณ์ และคุณสมบัติของมนุษย์ไม่ได้ และวิชาการนั้นจะต้องไม่นำไปสู่ความสั่นคลอนของโครงสร้างทางสังคมที่เป็นปึกแผ่น หรือจะต้องไม่นำไปสู่ความเสื่อมสลายของระบบเครือญาติ วงศ์ตระกูล และสายสัมพันธ์ในการสืบวงศ์ตระกูล ตลอดจนโครงสร้างของครอบครัว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น